หน้าที่ความรับผิดชอบโครงการชลประทานเลย

ตามคำสั่งของกรมชลประทานที่ 82/2558 ลงวันที่ 7 เมษายน 2558 เรื่องการแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 1-17 (เป็นการภายใน) กำหนดให้
โครงการชลประทานเลย แบ่งออกเป็น 1 งาน 3 ฝ่าย และฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ (จำนวนฝ่ายตามความจำเป็น) ดังนี้
1. งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1.1 ติดตาม ประสานงาน งานสารบรรณ งานธุรการ การประชุม การติดตามรายงาน ประสานราชการการ และงานพิธีต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ ถูกต้องตามระเบียบรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
1.2 ตรวจสอบ ติดตาม ประสานงาน การควบคุมตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ เก็บรักษาเงิน รับ นำส่งรายได้แผ่นดิน ทำบัญชี ระบบ GFMIS การจัดทำรายงานทางการเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยเบิกจ่าย ให้กับหน่วยงานสังกัดกรมชลประทานภายในจังหวัด เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
1.3 ตรวจสอบ ติดตาม ประสานงาน จัดหาพัสดุ ควบคุม ทำบัญชีพัสดุ แจกจ่าย ควบคุมระบบ e-GP งานคลังพัสดุ บริหารสินทรัพย์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
1.4 กำกับ ดูแล พัฒนาปรับปรุงซ่อมแซม และบำรุงรักษาอาคารสถานที่ และบริเวณหัวงานของโครงการ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงาน
1.5 กำกับ ดูแล ความปลอดภัยของอาคารสถานที่ ทรัพย์สิน บุคคล เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของทาวราชการรวมทั้งของผู้รับบริการ
1.6 ติดตาม ประสานงาน ด้านการบริหารงานบุคคล ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการของโครงการ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใส เป็นธรรม รวดเร็ว ทันเวลา
1.7 บริหารงานลูกจ้างชั่วคราวตั้งแต่กระบวนการสรรหา การจ้าง การตรวจสอบการปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อดำเนินการเบิกจ้างให้กับลูกจ้าง ให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้องตรงตามเวลาที่กำหนด
1.8 พิจารณาให้ความเห็น เบื้องต้นด้านการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับด้านนิติการของโครงการ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้
1.9 ดำเนินการ ติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร เสริมสร้างความผาสุก เกิดความผูกพันกับองค์กร และผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
1.10 เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม ผลงานโครงการให้มีความครบถ้วนถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ทันเวลา และผู้รับบริการพอใจ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่างเหมาะสม
1.11 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง สนับสนุนการบริหารงานทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.12 จัดทำรายงานด้านการควบคุมภายในของโครงการชลประทาน เพื่อให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน การรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามกฎระเบียบ
1.13 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

2. ฝ่ายวิศวกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
2.1 ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ วางแผนและงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า (MTEF) และแผนประจำปี งานปรับปรุงซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบชลประทาน งานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำและโครงการพิเศษต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมฯ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความพร้อมในการนำไปสู่การปฏิบัติ
2.2 ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ บูรณาการวางแผนงานและงบประมาณประจำปีของกรมชลประทานในระดับจังหวัด ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระดับท้องถิ่น ยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี
2.3 ควบคุมงบประมาณ ตรวจสอบ กลั่นกรอง ประมาณการงานปรับปรุงซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบชลประทาน งานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ และโครงการพิเศษต่างๆ เพื่อให้ปริมาณงานถูกต้องตามแบบรูป รายการทางวิศวกรรม รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
2.4 รวบรวมความต้องการ สำรวจและออกแบบ เพื่อทำรายละเอียดประกอบการพิจารณาโครงการเบื้องต้นให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม
2.5 ตรวจสอบและควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ติดตาม ประเมินผล เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและงบประมาณที่ได้กำหนดไว้
2.6 จัดทำเอกสารประกวดราคางานจ้างเหมาก่อสร้าง และจัดทำเอกสารราคากลาง วัสดุก่อสร้างเพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.7 ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ ชี้แจงข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องในเชิงวิศวกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับผู้รับบริการและผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย
2.8 ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ/พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานพัฒนาแหล่งน้ำในภาพรวมของเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการการวางแผน และตัดสินใจด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ ป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ
2.9 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้กามรดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

3. ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
3.1 ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ วางแผน ประเมินผลการส่งน้ำ ระบายน้ำ การเก็บกัก ทดน้ำ การวางแผนการปลูกพืช และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งในฤดู-ฤดูแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม ตรวจสอบ ข้อมูลด้านอุทกวิทยา และอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลน้ำท่าน้ำฝน ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ และประตูระบายน้ำ ข้อมูลด้านการเกษตร ปริมาณน้ำที่ส่งเข้าพื้นที่ชลประทาน และความต้องการใช้น้ำ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ บรรเทา/แก้ไขปัญหาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำ ด้านการอุปโภค การเกษตร และระบบนิเวศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ/พัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในด้านการบริหารจัดการน้ำ และการเตือนภัยเพื่อใช้ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการน้ำ และเตือนภัย ในเขตพื้นรับผิดชอบอย่างประสิทธิภาพ
3.4 กำกับ ดูแล พิจารณาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม การขอใช้ ขอเช่าที่ราชพัสดุในเขตที่รับผิดชอบ รวมถึงทางน้ำชลประทาน เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบ รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่องานชลประทาน
3.5 ควบคุม ตรวจสอบสภาพความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรมของเขื่อนและอาคารชลประทานเพื่อวางแผนการปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษา อาคารชลประทาน ทางชลประทาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.6 ดำเนินการบริหารจัดการน้ำโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่กลุ่มผู้ใช้น้ำฯ คณะกรรมการจัดการชลประทาน(JMC) ยุวชลกร อาสาสมัครชลประทานให้เรียนรู้การใช้น้ำชลประทานและบำรุงรักษาระบบชลประทานอย่างถูกวิธี เพื่อสานร่วมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ใช้น้ำ
3.7 ดำเนินการโครงการที่ได้รับมอบหมายพิเศษต่างๆ ได้แก่คลินิกชลประทานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัดเคลื่อนที่ เป็นต้น เพื่อให้ความรู้ รับฟัง แก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้น้ำและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.8 ติดตาม/เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วยระบบโทรมาตร (Telemetering System) ร่วมกับระบบข้อมูลสารสนเทศ และระบบพยากรณ์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่/สนับสนุนข้อมูลสถานการณ์น้ำให้กับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ สำหรับใช้ในการพิจารณาวางแผนบริหารจัดการน้ำและแจ้งเตือนสถานนการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.9 ปฏิบัติติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

4. ฝ่ายช่างกล
4.1 ความคุมการให้บริการ ยานพาหนะส่วนกลาง เพื่อให้มีความพร้อมในการใช้งาน
4.2 วางแผน ความคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลในการดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษา การปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร-เครื่องมีกล เครื่องสูบ เครื่องกำเนินไฟฟ้ายานพาหนะ ระบบไฟฟ้า ประปา เครื่องมือสื่อสาร เครือข่ายสถานีสื่อสาร อุปกรณ์ระบบสารสนเทศ ระบบตรวจวัด และควาบคุมระยะไกล เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4.3 ควบคุม ตรวจสอบงานจ้างด้านช่างกล การดำเนินการซ่อมแซมการติดตั้งเครื่องกว้านบานระบาย เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า อุปกรณ์บังคับน้ำและงานอื่นๆ เพื่อให้งานดำเนินการได้ตามรูปแบบ และเงื่อนไขสัญญาที่กำหนด ได้มาตรฐานงานตามแผนงาน
4.4 ตรวจสอบ ควบคุมงบประมาณและกำหนดคุณลักษณะเฉพาะการจัดซื้ออไหล่ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการซ่อมแซม การบำรุงรักษา เครื่องจักร-เครื่องมือกล ยานพาหนะ เครื่องกว้าน บานระบายอุปกรณ์บังคับน้ำต่างๆ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณและสำเร็จตามเป้าหมาย
4.5 รวบรวมจัดทำ สถิติ รายงานการใช้ การซ่อมบำรุงรักษา เครื่องจักรกล ยานพาหนะและงานด้านเครื่องกลอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบและเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงงาน
4.6 ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากรด้านเครื่องกล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.7 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

5. ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ (จำนวนฝ่ายตามความจำเป็น) มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
5.1 วางแผน ควบคุม ดูแลการส่งน้ำ และการระบายน้ำ การวางแผนปลูกพืช และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งในฤดูฝน-ฤดูแล้ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 จัดทำประมาณการงานปรับปรุงซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบชลประทาน งานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ และโครงการพิเศษต่างๆ เพื่อให้ปริมาณงานถูกต้องตามแบบรูปรายการทางวิศวกรรม รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
5.3 บันทึก รวบรวม ตรวจสอบ ข้อมูลด้านอุทกวิทยา และอุตุนิยมวิทยา ความต้องการใช้น้ำ เพื่อใช้ในการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ บรรเทา/แก้ไขปัญหาอุทกภัยและขาดแคลนน้ำ ด้านการอุปโภคการเกษตร และระบบนิเวศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.4 ดูแลที่ราชพัสดุ และทางน้ำชลประทานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบ รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่องานชลประทาน
5.5 สำรวจ ตรวจสอบสภาพความแข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย ของเขื่อนและอาคารชลประทานเบื้องต้น เพื่อรายงานสภาพความพร้อมใช้งานของอาคารชลประทาน
5.6 ดำเนินการและควบคุมการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาอาคารชลประทาน และบำรุงรักษาทางชลประทานในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป้าหมายของโครงการ
5.7 ประสานงาน และดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำแต่กลุ่มผู้ใช้น้ำฯ คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ยุวชลกร อาสาสมัครชลประทาน ให้เรียนรู้การใช้น้ำชลประทานและบำรุงรักษาระบบชลประทานอย่างถูกวิธี เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ใช้น้ำ
5.8 ดำเนินการงานก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ควบคุมเครื่องจักรกลสูบน้ำ และส่งเสริมและสนับสนุนด้านเทคนิควิชาการในการพัฒนาซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า และระบบส่งน้ำ รวมทั้งอาคารประกอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับการอุปโภค-บริโภค การเกษตร การป้องกันอุทกภัย
5.9 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด